วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อมวลชน

1.สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ

2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท


3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย


4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย


5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์


6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็ว


2.คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ความรู้ทางด้านวิชาการใหม่ ๆ และเจตคติในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบับ เนื่องจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาที่อย่างเห็นได้ชัดอย่างยิ่งขึ้น

3.ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น

ตอบ  หนังสือพิมพ์ มีประโยชน์คือ ทำให้เราสามารถติดตามข่าวสารบ้านเมือง  และทำให้เรามีความรู้รอบตัวเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งแต่ละวันก็มีข่าวแตกต่างกันมากมาย ดังนั้นเราควรติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เรเป็นคนทันต่อโลก

แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา


1.โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
   ตอบ 
โทรคมนาคม คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า โทรคมนาคม นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ โทรศัพท์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคมนี้ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ เบลล์ (Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์, จอห์น โลกี้ แบรด (John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร ในไม่นานมานี้ใยแก้วนำแสงถูกใช้เพิ่มแบนวิทด์ให้กับการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบสื่อสาร ซึ่งทำให้ระบบสื่อสารรวดเร็วขึ้น ระบบอินเทอร์เน็ตมีความรวดเร็ว สามารถให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลออนไลน์ได้ ซึ่งจะให้ภาพคมชัดกว่าแบบเดิม
การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น


2.การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
ตอบ  เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา ตังอย่างเช่น เราสามารถสื่อสารกับคนที่อยู่ห่างไกลกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของfacebook คือ 1.ที่ติดต่อเพื่อน    2.สมุดบันทึกขนาดใหญ่ที่เราได้รู้วิถีชีวิตของเพื่อน   3. สร้างเครือข่าย   4.สถานที่อ่าน ข่าวสาร บทความหนังสือ   5.สื่อการเรียนการสอน   6.การสอนหนังสือออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่าย   7.สร้างเพจ โปรโมต ค้าขาย   8.ประชาสัมพันธ์อะไรบางอย่าง เช่น กำหนดการแข่งขัน   9.ติดต่อเพื่อนต่างประเทศ   10.เดินไปหาไม่ได้ไกล ต่างคนก็ต่างทำงาน ติดต่อไม่ได้ ใช้เฟสประหยัด

            3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ 
1.  ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชันส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
2.  ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
 5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc  และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม ไทยคม
ตอบ  การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ไปถึงทุกโรงเรียนเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ แก้ปัญหาอาทิเช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกรียติจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ปีที่ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สอนเรื่องดินและฝนหลวง
ในรายการศึกษาทัศน์ อีกด้วย
6.ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog
ตอบ 
                      



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล





จากการที่ได้มาศึกษานอกสถานที่ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลวันนี้  ทำให้ฉันได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำชนิดต่างๆ  และการใช้เทคโนโลยีต่างๆในการนำเสนอ
            ในชั้นที่ 1 ก็จะมีตู้ทะเลจำลอง  ซึ่งจำลองออกมาได้เหมือนกับใต้ท้องทะเลจริงๆ  มีปลามากมายหลายชนิด  ปลาเศรษฐกิจก็มีทั้งที่เลี้ยงสวยงาม  และเลี้ยงเพื่อนำไปเป็นอาหาร
            ในชั้นที่ 2 มีการใช้แผนภาพต้นไม้ในการนำเสนออาณาจักรสัตว์ทะเล  ระบบนิเวศวิทยาหาดหินนำเสนอโดยใช้ป้ายนิเทศ  ยังมีการใช้หุ่นจำลอง  และตู้อันตรทัศน์อีกด้วย
            หลังจากที่เราได้เรียนรู้ในทฤษฎีแล้ว  การที่เราได้มาศึกษานอกสถานที่ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้ทำให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสื่อการสอน  วัสดุกราฟิก  และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  เพราะเราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  ได้เห็นของจริง  และได้สัมผัสกับวัสดุต่างๆที่ใช้ในการนำเสนอ  ได้เรียนจากของจริง

            
           สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณวิทยากรทางสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา  ที่นำเสนอสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ  และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  ให้ฉันได้เข้าใจมากขึ้น  และยังมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์น้ำชนิดต่างๆ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ภาพการอบรม การใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา  วันที่ 5 กรกฎาคม 2555


วิทยากร ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น

 
 
 

          ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์


ชั้นที่ 1 บริการที่สำหรับทำงาน กิจกรรมต่างๆ

Book Showroom @ ชั้น2 สำนักหอสมุด




มุมอ่านหนังสือ มีทุกชั้นในหอสมุด






บริการหนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง ฯลฯ

@ ชั้น3,ชั้น4,ชั้น5






ชั้น6 เป็นส่วนที่บริการในเรื่องสื่อโสตทัศน์ เทปเสียง ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม บริการอินเทอร์เน็ต ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ฯลฯ



         สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้แก่พวกเรา และขอบคุณอาจาย์ที่สนับสนุนให้พวกเรามีความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา  และทำให้เราได้เข้าใจระบบของสำนักหอสมุดมากขึ้น



วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555


1.              ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง

      ตอบ  ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ 4 ประเภท
1. สื่อโสตทัศน์
2. สื่อมวลชน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคมพิวเตอร์
4. สื่อเป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ

ตอบ สื่อเทคโนโลยีการศึกษาสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ สื่อการศึกษาประเภทวัสดุบางชนิดสามารถใช้ได้ทันที ผู้เรียนสามารถอ่านและศึกษาได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่อง เช่น ตำรา เอกสาร แผนภูมิ รูปภาพ เป็นต้น แต่สื่อประเภทวัสดุบางชนิดต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่อง เช่น CD-ROM แผ่นโปร่งใส เทปวิดีทัศน์

ประเภทที่ 2 คือ สื่อการศึกษาประเภทอุปกรณ์หรือเครื่องต่างๆ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
ประเภทที่ 3 คือ สื่อการศึกษาประเภทเทคนิควิธีการและกิจกรรม เช่น กิจกรรมพัฒนาชุมชน การจัดนิทรรศการป้องกันโรคเอดส์ การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด เป็นต้น
3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
ตอบ การแบ่งประเภทสื่อการเรียนการศึกษาตามลักษณะของประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากผลการใช้สื่อนั้น ๆ เอ็ดการ์ เดล เป็นคนแบ่งไว้มี 10 ประเภท (Dale, 1949) เริ่มแรกทีเดียวเขาแบ่งออกเป็น 11 ประเภท แต่ตอนหลังได้ปรับปรุงโดยรวมภาพยนตร์กับโทรทัศน์เป็นประเภทเดียวกัน จึงเหลือเป็น 10 ประเภท เรียกว่า กรวยแห่งประสบการณ์ตามลำดับจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังต่อไปนี้
(1.1) ประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเจตนารับเป็นสื่อของจริง ได้แก่ วัตถุ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์จริงที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสื่อที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เสนอปัญหา ขั้นการทดลอง และรวบรวมข้อมูล เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากสถานการณ์การเรียนการสอน
(1.2) ประสบการณ์จากสถานการณ์จำลองและหุ่นจำลอง สื่อประเภทสถานการณ์จำลองหรือหุ่นจำลองนี้ สามารถเน้นประเด็นที่ต้องการหรือกำจัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการจากของจริงได้ มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในกรณีที่ของจริงหายากมีราคาแพง มีอันตรายมาก ใหญ่โตเกินไป เล็กเกินไป สลับซับซ้อนเกินไป ฯลฯ
(1.3) ประสบการณ์นาฏการที่ผู้เรียนได้รับรู้การแสดงด้วยตนเองหรือการชมการแสดง เป็นสถานการณ์จำลองที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์และกระบวนการบางอย่างได้ดี
(1.4) ประสบการณ์จากการทดลองสาธิต เป็นประสบการณ์ที่ได้จากสื่อ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริง แต่เป็นสื่อที่มีจำนวนน้อย จึงสาธิตให้ดูเป็นกลุ่ม เป็นประสบการณ์ที่จะต้องรับรู้พร้อม ๆ กัน เหมาะสำหรับการทดลองสาธิตให้ผู้เรียนสังเกตและรวบรวมข้อมูลพร้อมกันหลายคน
(1.5) ประสบการณ์ทัศนศึกษา เป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการเรียนการสอนที่เป็นวัตถุ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์จริง แต่แทนที่จะเป็นการนำสื่อเข้ามาหาผู้เรียน ก็เป็นการนำผู้เรียนไปยังแหล่งของสื่อ เหมาะสำหรับการนำเข้าสู่ปัญหาหรือการสรุปบทเรียน เป็นการยืนยันข้อสรุปที่ได้จากการเรียนในห้องเรียน
(1.6) ประสบการณ์ที่ได้จากนิทรรศการ สื่อที่ให้ประสบการณ์ในลักษณะนี้อาจจะเป็นทั้งของจริงและสิ่งจำลองต่างๆ แต่จัดเรียงไว้ในรูปที่จะใช้ข้อมูลหรือเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของผู้จัด เหมาะสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนหรือขั้นการสรุปบทเรียน
(1.7) ประสบการณ์จากภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ เป็นประสบการณ์ที่ได้จากภาพและเสียงที่พยายามทำให้เหมือนกับประสบการณ์ตรงโดยเทคนิคการถ่ายทำ เหมาะสำหรับการเสนอเนื้อหา เสนอข้อมูลหรือการสรุปบทเรียน
(1.8) ประสบการณ์จากภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง สื่อประเภทนี้ให้ประสบการณ์ที่เป็นรายละเอียดในประเด็นที่ต้องการเน้นได้ โดยเทคนิคการถ่ายภาพ การอัดขยายและการบันทึกตัดต่อในกรณีที่เป็นเทปเสียง
(1.9) ประสบการณ์จากสื่อทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาพเขียนภาพลายเส้น วัสดุกราฟฟิกต่างๆ ที่สามารถเน้นโดยใช้รูปลักษณะและสีทำให้เกิดความสนใจในประเด็นที่ต้องการจะเน้น
(1.10) ประสบการณ์พจนสัญลักษณ์ ได้แก่ สัญลักษณ์ สูตร ภาษา ตำราต่างๆ เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอเนื้อหา มโนมติ หลักการ ทฤษฎีหรือกฎบางอย่างได้ดี

4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ  เดนนิส แมคเควล (McQuail, 2005) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการให้และการรับความหมาย การถ่ายทอดและการรับสาร ซึ่งรวมถึงแนวคิดของการโต้ตอบ แบ่งปัน และมีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
  ต่อไป Wilbur Schramm ก็ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  สุมน อยู่สิน กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
สะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อ
ความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้อง
มีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง

5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ องค์ประกอบที่ 3 เพราะ สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์


6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ
ตอบ เดวิด เบอร์โล (David Berlo, 1960) นำเสนอว่า กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ ได้แก่ ผู้ส่งสาร (source) ข่าวสาร (message) ช่องทางการสื่อสาร(channel) และ ผู้รับสาร (receiver) โดยแต่ละองค์ประกอบต่างทำหน้าที่ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเข้ารหัสเนื้อหาข่าวสารได้มีความรู้อย่างดีในข้อมูลที่จะส่ง
และสามารถปรับระดับของเนื้อหาข่าวสารให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้รับสาร
2. ข่าวสาร คือเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง
3. ช่องทางการสื่อสาร ในที่นี้หมายถึงช่องทางที่ผู้รับสามารถรับสารได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ
ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
4. ผู้รับสาร ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการถอดรหัสสารที่รับมาได้อย่างถูกต้อง

แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล

จากภาพจะเห็นว่า ในแบบจำลอง SMCR นี้ เบอร์โลได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ โดยเน้นส่วนของผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยคำนึงถึง ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีตรงกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ ในส่วนของเนื้อหาสาร ต้องมีองค์ประกอบของเนื้อหา วิธีการ โครงสร้างและรหัสที่อยู่ในสาร ซึ่งถ้าเนื้อหาซับซ้อนเกินไป ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจ ส่วนช่องทางในการสื่อสารของแบบจำลอง SMCR นี้เน้นไปที่ประสาทสัมผัสทั้งห้ามากกว่าที่จะกล่าวถึงสื่อ

7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ  การสื่อสารด้วยภาษาพูดหรือภาษาเขียนย่อมเกิดปัญหาในการสื่อสารได้ อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไขมีดังนี้
1. อุปสรรคของการสื่อสาร : ผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร ขนาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร ไม่สนใจ มีทัศนคติไม่ดี
วิธีแก้ไข : ศึกษาข้อมูลความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ ทำใจให้เป็นกลาง
ปรับทัศนคติและอารมณ์ให้มั่นคง เพื่อเปิดใจให้พร้อมรับสาร
2. อุปสรรคของการสื่อสาร : สาร มีความซับซ้อน เยิ่นเย้อ หรือมีลักษณะขัดแย้งกันเอง
วิธีแก้ไข : เลือกใช้ให้เหมาะสมแก่กลุ่มบุคคลเป้าหมายที่ต้องการ วิธีการเดียวกัน
ย่อมไม่สามารถเสนอให้บุคคลหลากหลายระดับความรู้ อาชีพ
และประสบการณ์ มีความเข้าใจได้เท่าเทียมกัน
3. อุปสรรคของการสื่อสาร : ภาษา ที่ใช้ในการสื่อสารไม่ตรงประเด็น ใช้ภาษาผิดระดับ
วิธีแก้ไข : ใช้ถ้อยคำชัดเจน ไม่ใช้ศัพท์หรือคำยากโดยไม่จำเป็น ใช้ประโยคสั้นกระทัดรัด เข้าใจง่าย
4. อุปสรรคของการสื่อสาร : สื่อนำสารขัดข้อง ทำให้ผู้รับสารไม่สามารถรับสารได้หรือรับไม่สะดวก
วิธีแก้ไข : ให้เลือกสถานที่ใหม่ให้เหมาะสม ใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อให้การส่งสารน่าสนใจ
และช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
5. อุปสรรคของการสื่อสาร : กาลเทศะและสภาพแวดล้อม ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เช่น มีเสียงรบกวน
ดึกเกินไป ร้อนจัด กำลังยุ่ง ฯลฯ ทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิผล
วิธีแก้ไข : ให้ตระหนักในคำ 3 คำ คือ T O P ดังนี้
เวลา (Time) การกำหนดเวลาให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป
จุดมุ่งหมาย (Object) พูดให้เข้าใจตรงประเด็น ใช้ศิลปะในการพูด
สถานที่ (Place) พิจารณาสถานที่
ในการสื่อสาร ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เหมาะ
ที่จะสื่อสารต่อหน้าบุคคลที่สาม
8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ  สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
ตอบ   การเข้ารหัส (Encode)

         ผู้ส่ง (Source) = ครูบอย

     ข้อมูลข่าวสาร (Message) = เนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง GRAMMAR

     ถอดรหัส (Decode)

     ช่องทาง (Channel )= วิดิทัศน์

    ผู้รับ (Receiver) = นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ  เป็นการส่งแบบขนาน (Parallel) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลหลายๆ ชุดไปพร้อมกันโดยวิธีการนี้จะสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่จะสิ้นเปลืองช่องทางในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก